ปักธงตำราแม่ฟ้าหลวงสู่เวทีโลกปรับทัพรับมือโลกเปลี่ยน

2025-01-06 HaiPress

ปรับทัพมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ รับกระแสโลกเปลี่ยน นำองค์ความรู้เผยแพร่ทั้งในไทย สู่สากล

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่ามูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯได้ปรับโครงสร้างการทำงานใหม่โดยแยกเป็น4 กลุ่มงานคือ โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่,ธุรกิจเพื่อสังคม,การแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติและที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศและกติกาใหม่ของโลก รวมถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขที่เร่งด่วนมากขึ้นโดยใช้องค์ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์จากโครงการพัฒนาดอยตุงที่มีมานานถึง 36ปีเข้ามาดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างพร้อมขยายการพัฒนาไปใช้ในต่างประเทศทั้งเมียนมาสปป.ลาวและในอีกหลาย ๆ ประเทศ

“เราปักธงตำราแม่ฟ้าหลวงฯให้ไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับโลกซึ่งไม่ได้ทำแต่เรื่องของความยั่งยืนในไทยเท่านั้นแต่เป็นการนำองค์ความรู้ที่มีไปเผยแพร่ทั้งในไทยและต่างประเทศเพื่อให้หลักการทรงงานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้แพร่หลายโดยนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทั้งเวทีระหว่างประเทศและใช้กับองค์กรต่างๆ และยังเป็นการตอบโจทย์งานของม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล อดีตราชเลขานุการในพระองค์ของสมเด็จย่าที่ยังค้างอยู่คือทำอย่างไรไม่ให้คนลืมสมเด็จย่า”

ทั้งนี้งานพัฒนาเชิงพื้นที่ได้มุ่งเน้นการยกดับคุณภาพชีวิตชุมชนอย่างครบวงจรทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ต่างๆ เช่นโครงการพัฒนาดอยตุงโครงการร้อยใจรักษ์โครงการแปรรูปเศรษฐกิจน่านเป็นต้น ขณะที่งานธุรกิจเพื่อสังคมภายใต้แบรนด์ดอยตุงก็เพื่อสร้างอาชีพที่มั่นคงและธุรกิจที่ยั่งยืนใน 5 กลุ่มธุรกิจย่อยเช่น อาหารแปรรูป กาแฟและแมคคาดีเมียงานหัตถกรรม คาเฟ่ดอยตุงเกษตรและท่องเที่ยวขณะที่กลุ่มงานการแก้ไขปัญหาที่อาศัยธรรมชาติก็เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ประสบการณ์จากการปลูกป่าปลูกคนและร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ส่วนงานที่ปรึกษาด้านความยั่งยื่นที่ถือว่าเป็นนิวเอสเคริฟที่สำคัญของแม่ฟ้าหลวงเพื่อขยายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังช่วยเพิ่มความเข้มแข็งทางการเงินให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯเพิ่มขึ้นด้วย ปัจจุบัน 30% มาจากงบประมาณรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากการประกอบธุรกิจที่ถูกขับเคลื่อนด้วยตลาด อยากให้มองเป็นเหมือนกับมูลนิธิ ร็อกเกอะเฟลเลอร์ หากมีงบประมาณมากก็จะทำกิจกรรมที่ช่วยเหลือคนได้มาก ขณะที่บางธุรกิจขาดทุนอย่างแบรนด์ดอยตุง แต่ขาดทุนคือกำไร ที่สามารถช่วยเหลือและพัฒนาคนได้

“งานที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ที่เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมาโดยมองเห็นโอกาสตรงนี้อย่างมาก เพราะโลกทั้งโลกกำลังถูกบังคับให้เดินไปในเส้นทางนี้และทุกคนกำลังมองหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรขณะที่แม่ฟ้าหลวงฯมีโซลูชั่นบางส่วนที่สามารถตอบโจทย์บางส่วนได้ถ้าธุรกิจเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ผลกระทบเชิงบวกจะกว้างมากขึ้นเหมือนการพัฒนาดอยตุง100 ดอยตุงเราอยู่ในโลกที่ไม่มีเวลาแล้วดังนั้นวันนี้ต้องทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการให้เร็วที่สุด”

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา