กสอ.ผนึก DPAI ปฏิวัติเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีอวกาศและ AI

2025-02-13 HaiPress

กสอ.ผนึก DPAI ปฏิวัติเกษตรไทยด้วยเทคโนโลยีอวกาศและ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำ

นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ตัวโครงการ“พัฒนาเกษตรแม่นยำด้วยเทคโนโลยีอวกาศ” ซึ่งร่วมกับสมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม (สสกอ) หรือ DPAI กิจกรรมการฝึกอบรมเกษตรกรยุคใหม่ เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ซึ่งมุ่งนำเทคโนโลยีอวกาศและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการทำเกษตรโดยกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีล้ำสมัย สู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน

“ปัจจุบัน ภาคเกษตรไทยต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้ง สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และความต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพ ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ โครงการนี้จึงเน้น การใช้ข้อมูลดาวเทียม,สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ,เซ็นเซอร์ IoT,โมเดลพยากรณ์อากาศล่วงหน้า และ AI เพื่อให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์มได้แม่นยำขึ้น ลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาด นอกจากการพัฒนาในภาคการผลิตแล้ว โครงการยังสนับสนุนการใช้ AI เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างแม่นยำ และเสริมสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดดิจิทัล ช่วยให้เกษตรกรสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก“

สำหรับโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศ เกษตรแม่นยำ Big Data และการตลาดดิจิทัล โดยมีการอบรมใน 3 ระยะหลัก ได้แก่ 1. อบรมบ่มเพาะ – ให้ความรู้ด้าน AI และเทคโนโลยีอวกาศเพื่อการเกษตร2. Coaching & Consult – ให้คำปรึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลและเครื่องมือดิจิทัล และ 3. ขยายผลทางการตลาด – สนับสนุนเครื่องมือการตลาดดิจิทัล เพื่อเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้เกษตรกร ทดลองใช้เทคโนโลยีจริง พร้อมติดตามผล 150 วัน

นายกำพล โชคสุนทสุทธิ์ นายกสมาคมส่งเสริมดิจิทัลเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรม (สสอก) หรือ Digital Promotion for Agriculture and Industry Association (DPAI) กล่าวว่า ภายในกิจกรรมครั้งนี้ มีเกณฑ์การคัดเลือกจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือวิสาหกิจชุมชนจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ และพื้นที่อื่นๆ จากเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 20 กิจการ โดยจะอบรมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ และพัฒนาศักยภาพในรูปแบบการรับคำปรึกาและแนะนำเชิงลึก เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนมีโอกาสได้ทดลองใช้ระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ โดรนเพื่อการเกษตร,เซ็นเซอร์วัดคุณภาพดินและน้ำ,สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ และแพลตฟอร์มบริหารจัดการฟาร์ม โดยมีการติดตามผลลัพธ์เป็นเวลา 150 วัน เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็นต้น

คำปฏิเสธ: บทความนี้ทำซ้ำจากสื่ออื่น ๆ วัตถุประสงค์ของการพิมพ์ซ้ำคือการถ่ายทอดข้อมูลเพิ่มเติมไม่ได้หมายความว่าเว็บไซต์นี้เห็นด้วยกับมุมมองและรับผิดชอบต่อความถูกต้องและไม่รับผิดชอบใด ๆ ตามกฎหมาย แหล่งข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์นี้ได้รับการรวบรวมบนอินเทอร์เน็ตจุดประสงค์ของการแบ่งปันคือเพื่อการเรียนรู้และการอ้างอิงของทุกคนเท่านั้นหากมีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาโปรดส่งข้อความถึงเรา